เชื่อว่าเพื่อนๆชาวเว็บไอโฮมร้อยแปดหลายๆท่าน เห็นบิลค่าไฟฟ้าแล้วหนาวขึ้นมาทันที หนาวจากตัวเลขค่าไฟฟ้า ที่พุ่งแรง และเพื่อน แลำกำลังมองหาพลังงนทางเลือก ผลังงานสะอาด นั้นก็คิอ “โซล่าร์เซลล์” เพื่อนๆหลายคนกำลังมีคำถามว่า ถ้าติดตั้งโซล่าร์เซลล์ที่บ้าน จะคุ้มค่าไหม? ค่าติดตั้งอุปกรณ์
จะคุ้มค่าไหม ถ้าติดตั้งโซล่าร์เซลล์ที่บ้าน
เรียบเรียงโดย : iHome108
แต่คำถามสำคัญคือการจะติดโซลาร์เซลล์ที่บ้านต้องทำอย่างไร ติดต่อที่ไหน และมีเรื่องอะไรต้องรู้ก่อนติดตั้งบ้าง ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ปัจจัยในการคำนวณความคุ้มค่า วัดได้ด้วยหลายปัจจัยจากได้ใช้ไฟฟรีตอนที่มีแดด โดยการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ที่บ้าน มีตัวเลือกให้ใช้งาน เหมาะกับงบในกระเป๋าและตรงความต้องการ
1.ความพร้อมของบ้าน ความแข็งแรงของบ้านและหลังคา
ควรตรวจสอบหลังคาบ้าน และวัสดุที่ใช้ปูหลังคา ว่าพร้อมหรรือไม่ ควรทำการรีโนเวทใหม่ถ้าไม่แข็งแรง เกิดรอยแตก รอยร้าว รอยรั่ว ควรปรับปรุง ทรงหลังคาที่เหมาะกับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จะเป็น หลังคาทรงจั่ว หลังคาทรงปั้นหยา หลังคาทรงเพิงแหงน
บ้านแบบไหนที่เหมาะกับการติดโซลาร์ บ้าน / ออฟฟิศ / สำนักงาน / ร้านอาหาร / อาคารที่ใช้ไฟกลางวัน
2.ตรวจสอบกำลังไฟภายในบ้าน
จะทำให้เรารู้ว่า คุณใช้กำลังไฟอยู่ที่เท่าไรในแต่ละเดือน เช่นค่าไฟเดือนนี้ 5,000 บาท ตอนกลางวัน 70% และตอนกลางคืน 30% เฉลี่ยค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ 5 บาทต่อหน่วย จะได้ 3,500÷5= 700 หน่วย ควรเลือกติดโซล่าเซลล์ขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะสม ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ คุ้มทุนเมื่อไหร่
3.แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel) ที่ใช้กับงานหลังคาส่วนใหญ่แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1) Monocrystalline แผงโมโนคริสตัลไลน์ เป็นเซลล์แบบผนึกเดียว ที่ผลิตจากซิลิคอนบริสุทธิ์ สามารถผลิตไฟได้ดีแม้ว่าแสงแดดจะน้อย ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 25-40 ปี
2) Polycrystalline เป็นเซลล์แบบผนึกรวม ที่ผลิตจากซิลิคอนทั่วไป ประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบผนึกเดียว ราคาไม่แพง และแผงโพลีคริสตัลไลน์สามารถใช้งานในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงกว่าแผงคริสตัลไลน์เล็กน้อย อายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นเพียง 20-25 ปี
3) Thin Film Solar Cells แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง ราคาถูกที่สุด มีน้ำหนักเบา สามารถโค้งงอได้ดี ทนต่ออากาศร้อนได้ดี แต่ผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด อายุการใช้งานสั้น
4.ระบบโซลาร์เซลล์มี 3 ระบบ
1. On Grid ระบบออนกริด สำหรับคนใช้ไฟกลางวัน/คนอยู่บ้านทั้งวัน ใช้ไฟทั้ง 2 ทาง คือ ไฟที่มาตามสายจากการไฟฟ้า และไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ เหมาะกับบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน
- ไม่มีแบตเตอรี่ ผลิตได้ ใช้เลย
- เป็นระบบที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันเพราะคืนทุนเร็วที่สุด
- ขายไฟคืนการไฟฟ้าได้
- ไม่มีแบตเตอรี่ สำรองไฟไม่ได้ กลางคืน วันฝนตก ไม่มีแดด จะใช้ไม่ได้
2.Off Grid สำหรับพื้นที่ห่างไกล ระบบออฟกริดใช้สะดวก
ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า เป็นระบบ Stand Alone เหมาะกับ พื้นที่ทำไร่นา บนดอยสูง ท้องถิ่นห่างไกล ไม่ต้องขออนุญาต ต้องติดตั้งแบตเตอรี่ เพื่อสำรองไฟและมีไฟใช้กลางคืน
3.Hybrid ระบบไฮบริด มีไฟฟ้าใช้ทั้งวัน
มีการใช้ไฟทั้งจากการไฟฟ้า ไฟที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์ ผสมทั้ง 2 ระบบ ทั้ง Off Grid กับ On Grid เก็บไว้ที่แบตเตอรี่ สามารถดึงกระแสไฟฟ้าผลิตมากเกินกว่าการใช้งานกลางวัน มาใช้ในช่วงเวลากลางคืน หรือช่วงที่ไฟตกได้
- ใช้ไฟฟ้าได้ฟรีๆ ทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน แต่ไม่สามารถขายกระแสไฟคืนให้การไฟฟ้าได้
- แบตเตอรี่ ราคาสูงมาก ทำให้มีระยะเวลาคืนทุนนาน
- เป็นไฟฉุกเฉินในเวลาไฟตก ไฟดับได้
การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ขออนุญาตจากภาครัฐ 3 หน่วยงาน คือ
1.การไฟฟ้านครหลวง/การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- ขอเชื่อมต่อกับการไฟฟ้า (ไม่ขายไฟคืน)
- ขายไฟคืน (โครงการโซลาร์ภาคประชาชน)
2.คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อขอใบยกเว้นการประกอบกิจการพลังงานไฟฟ้า
3.เขต/เทศบาล/อบต. ขออนุญาตดัดแปลงอาคารเพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์
อ้างอิง :สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน